0
ถาม-ตอบ
ถุงพลาสติกที่ใช้กันอยู่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่สามารถย่อยสลายได้ใช้หรือไม่
ถุงพลาสติกที่ใช้กันเกลื่อนนั้นเป็นพลาสติกประเภทพีอี (polyethylene), พีพี (polyethylene), พีวีซี (PVC) และไนล่อน (nylon) ซึ่งสารตั้งต้นในการสังเคราะห์พลาสติกที่เป็นบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันบางชนิดทำมาจากวัสดุหลายๆ ชนิดผสมกัน เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามความต้องการในการใช้งาน พลาสติกอย่างที่ว่ามานี้ เรามักพูดกันว่าไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่ความเป็นจริงก็คือมันสามารถย่อยสลายกลับไปเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันได้ แต่ใช้เวลานานมากขนาด 400-500 ปี 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com
แหล่งข้อมูลจาก นิตยสาร Livig etc 
ฉบับเดือนกรกฎาคม 2551 
ถุงพลาสติกที่บอกว่าย่อยสลายได้ด้วยธรรมชาติ (ความร้อน น้ำ และแบคทีเรีย) นั้นไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมจริงหรือ
คำตอบคือไม่จริง เหตุผลนั้นคล้ายกับข้อ 2 เพียงแต่จะมีความร้อน น้ำ แสงแดด มาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการแตกสลายของพลาสติกแทน เราเรียกถุงพลาสติกพวกนี้ว่า Oxo-degradation 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com
แหล่งข้อมูลจาก นิตยสาร Livig etc 
ฉบับเดือนกรกฎาคม 2551 
ถุงพลาสติกใส่อาหาร (ทั้งชนิดที่ทนความร้อนและไม่ทนความร้อน) เป็นถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ใช่หรือไม่? เราสามารถทดแทนด้วยพลาสติกชนิดอื่นที่ดีกว่าได้หรือไม่
ที่เรียกกันว่าถุงร้อนถุงเย็น ถุงร้อนส่วนใหญ่ทำมาจากเม็ดพลาสติก PP (polypropylene) มีลักษณะใสค่อนข้างกระด้าง สามารถบรรจุของร้อนได้ แต่ไม่เหมาะกับอาหารแช่แข็ง อีกชนิดทำมาจากเม็ดโพลีเอทธิลีนมีความหนาแน่นสูง (HDPE) มีลักษณะขุ่น ส่วนถุงเย็นทำมาจากเม็ดโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) มีลักษณะค่อนข้างใส ยึดหยุ่นดี ใช้สำหรับใส่อาหารทั่วไปรวมถึงอาหารแช่แข็งได้ ถุงใส่อาหารเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้ โดยจะเห็นว่าอายุการใช้งานสั้นมาก ทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกในขณนี้กล่องที่ใช้บรรจุอาหารมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกชีวภาพแล้ว แต่ถุงพลาสติกที่ทำจากพลาสติกชีวภาพยังไม่เหมาะที่จะนำมาใส่อาหาร เนื่องจากพลาสติกชีวภาพไม่สามารถทนความร้อนสูงได้ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com
แหล่งข้อมูลจาก นิตยสาร Livig etc 
ฉบับเดือนกรกฎาคม 2551 
คำแนะนำในการเลือกใช้พลาสติกเพื่อช่วยลดปัญหามลภาวะโลกร้อน
หากหลีกเลี่ยงการใช้ได้ก็ควรหลีก แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถเลิกใช้ได้ แนะนำว่าให้ใช้ถุงผ้าหรือถุงพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติ (หันกลับไปใช้ใบตองห่อข้าว ห่อขนม)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com
แหล่งข้อมูลจาก นิตยสาร Livig etc 
ฉบับเดือนกรกฎาคม 2551